วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

โครงการปฐมนิเทศ ประจำภาคเรียนที่ 2/2558

โครงการปฐมนิเทศ ประจำภาคเรียนที่ 2/2558
วันที่ 12 พฤศจิกายน 2558
ณ ห้องประชุมสำนักงานกศน.จังหวัดนราธิวาส



วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กีฬาสี

กศน.อำเภอเมืองนราธิวาส  จัดกิจกรรมกีฬาสี กศน.ระดับตำบล
วันที่  ๒๐  มิถุนายน  ๒๕๕๖
เวลา  ๐๘.๐๐  น.     เป็นต้นไป
ณ  สนามกีฬาเทศบาลเมืองนราธิวาสและกศน.อำเภอเมืองนราธิวาส

แจ้งให้นักศึกษาทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว  โดยใส่เสื้อกีฬาสีประจำตำบล (ตำบลลำภู  สีแดง)

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

อาหารจานอันตรายในหน้าร้อน


ควรระวัง! 10 อาหารจานอันตรายในหน้าร้อน
ขอต้อนรับอากาศร้อนๆ ช่วงเมษายน ด้วยการพาผู้อ่านไปรู้จักกับ 10 อาหารจานอันตราย รวมทั้งข้อควรระวังเกี่ยวกับอาหารในหน้าร้อน จะมีเมนูไหนบ้างตามไปชมกันเลยค่ะ

1) ส้มตำ เมนูนี้ ใครๆ ก็รู้ว่าฮิตกันแค่ไหน แต่ถ้าไม่สะอาดรับรองว่าอาจทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง หรืออาหารเป็นพิษกันได้ง่ายๆ จะว่าไปส้มตำตามร้านทั่วๆ ไป ส่วนใหญ่รสชาติก็จัดจ้านถึงใจกันอยู่แล้ว ยิ่งถ้าเป็นร้านส้มตำข้างทางที่ไม่สะอาด หรือปรุงไม่ถูกสุขอนามัย เช่น ปลาร้าไม่ต้มสุก มีแมลงวันตอม ใส่ปูดองไม่สดสะอาด หรือมีเชื้อโรคปนเปื้อนก็ยิ่งน่าเป็นห่วง ก่อนซื้อร้านไหนตัดสินใจให้รอบคอบก่อนนะครับ

2) อาหารทะเล ผมเคยมีประสบการณ์อาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) มาแล้ว เพราะทานอาหารทะเลที่ปนเปื้อนเข้าไป จึงรู้ว่าทรมานแค่ไหน ช่วงร้อนๆ แบบนี้ ถ้าอยากทานอาหารทะเลจึงควรปรุงให้สุก และหากจะไปทานตามชายทะเลก็ควรเลือกให้ดีว่าสด สะอาดหรือไม่ หากสงสัย ไม่ควรเสี่ยงเป็นอันขาด โดยเฉพาะอาหารทะเลจำพวกหอยที่มักปรุงแบบสุกๆ ดิบๆ ควรเลี่ยง 

3) อาหารหมักดอง ในช่วงร้อนๆ แบบนี้ ขอแนะนำให้เลี่ยงอาหารหมักดอง โดยเฉพาะอาหารหมักดองที่ขายตามท้องตลาด เพราะอากาศร้อนมากๆ ทำให้เชื้อโรคเติบโตได้ดี เช่น ยีสต์และเชื้อรา เช่น จากกะปิ แหนม ปลาร้า เมื่อทานเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการท้องร่วง อาเจียน นอกจากนี้ ถ้ามีเชื้อไวรัสก็อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ โดยเฉพาะในแหนม นอกจากจะมีโอกาสได้รับพยาธิตัวตืดแล้ว ยังอาจได้รับสารพิษที่มีชื่อว่า ไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วยหากมีการเติมสารไนไตรต์หรือดินประสิวลงไป

4) ข้าวราดแกง ใครก็รู้ว่าข้าวราดแกงนั้นต้องทำในปริมาณมากๆ แล้วราดข้าว หรือแบ่งขาย ถ้าทำใหม่ๆ ก็โชคดีไป แต่หากทำแล้วไม่มีคนซื้อ เมื่อบวกกับอากาศร้อน แมลงวันตอม ก็อาจทำให้อาหารเน่าบูดหรือเสียได้ นอกจากนี้ ในซูเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านค้าที่ขายอาหารไม่หมดมีการนำอาหารถุงมาวางขายในช่วงเย็นๆ อย่าเห็นแก่ราคาแล้วรีบซื้อขอให้ดูดีๆ ก่อน

5) อาหารกระป๋อง ไม่เฉพาะหน้าร้อนนะครับที่อาหารกระป๋องจะทำพิษให้ท้องเราได้ ช่วงอื่นๆ ก็เป็น หากอาหารกระป๋องนั้นหมดอายุ บู้บี้ผิดรูป ก็ไม่ควรซื้อ ที่สำคัญ ซื้อไปแล้วหากทานไม่หมดไม่ควรเก็บไว้นาน เพราะอาจมีแมลงวันตอมหรือเชื้อโรคตามอากาศที่เข้าไปปะปนได้ในภายหลัง 

6) ยำ อาหารเมนูยำก็เช่นเดียวกับเมนูอื่นๆ ที่มักจะมีอันตรายแฝงอยู่หากปรุงไม่ได้มาตรฐาน เพราะวัตถุดิบที่ใช้ เช่น กุ้ง หมูสับ มะเขือเทศ ฯลฯ ที่แม่ค้าเตรียมไว้อาจเสียได้ง่ายกว่าในช่วงอื่น 
เมื่อเราทานเข้าไปอาจทำให้ท้องเสียได้ง่ายๆ จึงควรระวังเมนูนี้เช่นกัน 

7) ลาบ ก้อย น้ำตก พล่า อาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะปรุงแบบสุกๆ ดิบๆ ทำให้อาจมีเชื้อโรคปนเปื้อน เช่น เนื้อสัตว์ที่ย่างยังไม่สุกจะมีตัวอ่อนของพยาธิติดมา เนื้อหมูและเนื้อวัวอาจพบตัวอ่อนของพยาธิตัวตืด เนื้อหมูป่า หากไม่ปรุงให้สุกอาจจะเจอตัวอ่อนของพยาธิตัวกลมไทรชิเนลลา สไปเรลีส (Trichinella spiralis) ส่วนปลาและกุ้งน้ำจืดก็อาจเป็นพาหะนำโรคพยาธิตัวจี๊ดมาสู่คนได้ ยิ่งร้อนๆ แบบนี้โอกาสเสี่ยงต่ออาหารที่ไม่สด สะอาด ก็ยิ่งมีมากขึ้น 

8) ซูชิ ถ้าหากวางขายในร้านที่เชื่อถือได้ก็น่าจะวางใจ แต่หากวางขายในตลาดนัด ซึ่งเราไม่รู้ว่าคนขายนำวัตถุดิบมาจากแหล่งผลิตใด วัตถุดิบคืออะไร ยิ่งมาวางขายใกล้ถนนที่ฝุ่นฟุ้งกระจาย 
บวกกับอากาศร้อนๆ เมื่อของสดบวกกับความร้อนและเชื้อแบคทีเรียในอากาศผู้ที่ซื้อไปทานก็อาจมีอาการท้องร่วง ท้องเสียตามมา

9) เอแคลร์-ลูกชุบ หรือขนมที่มีการปั้นๆ ถูๆ ประเภทนี้ก็ต้องระวังเช่นกัน เพราะเราไม่รู้เลยว่าเบื้องหลังการทำนั้นเป็นอย่างไร โดยเฉพาะสุขอนามัยในช่วงหน้าร้อนแบบนี้ อาจมีสิ่งปนเปื้อนมากกว่าเราคิดเสียอีก ที่สำคัญ สีที่ใส่ผสมลงไปในอาหาร ที่อาจไม่ใช่สีผสมอาหารที่ผ่านการรับรอง ทานเข้าไปก็เตรียมใจรับสารตะกั่ว

10) สลัด แม้ว่าผมจะสนับสนุนให้คนหันมาทานผักกันมากๆ เพราะจะช่วยลดอัตราเสี่ยงโรคมะเร็ง รวมทั้งบำรุงสุขภาพในระยะยาว โดยเฉพาะผักผลไม้มีสารแอนติออกซิแดนท์จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ผักสลัด เช่น ผักกาดต่างๆ กะหล่ำปลี มีโอกาสพบเชื้อโปรโตซัวได้หลายชนิด บางชนิดก็เป็นสาเหตุของโรคท้องร่วง เช่น เชื้อซัลโมเนลลา เป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ทั้งเรื้อรังและรุนแรง นอกจากนี้ อาจพบไข่ของพยาธิหลายชนิด เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิแส้ม้า รวมทั้งไข่ของพยาธิตัวตืดอีกด้วย ผักทุกชนิดที่จะทานจึงจำเป็นต้องล้างให้สะอาดเสียก่อน

หน้าร้อนนี้ จึงควรระมัดระวังเรื่องอาหารการกินให้มากที่สุดครับ ตั้งแต่เลือกอาหารที่จะทาน ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทาน อุ่นอาหารให้ร้อน ฯลฯ เพราะหากพลาดพลั้งอาจถูกหามเข้าโรงพยาบาลหรือมีอาการเรื้อรังจากเชื้อโรคและปรสิตต่างๆ ตามมาได้...จะทานอะไรก็ระมัดระวังกันให้มากนะค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

อาชีพระยะสั้น

กศน.ตำบลลำภู  จัดหลักสูตรอาชีพระยะสั้น
  วิชาอาหาร -ขนม  จำนวน  50  ชั่วโมง
ณ  ที่ทำการกลุ่มแม่บ้าน  หมู่ที่  10  บ้านทุเรียนนก  ตำบลลำภู
  อำเภอเมือง  จังหวัดนราธิวาส


คุกกี้อร่อยๆ
คุณครูกำลังสอนวิธีการนำขนมออกจากถาดอบ







วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประชาสัมพันธ์รับสมัครนักศึกษา

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนราธิวาส 
 โดย กศน.ตำบลลำภู 
 เปิดรับสมัครนักศึกษาขั้นพื้นฐาน  ประจำปีการศึกษา  2556 
 ดังนี้
  • นักศึกษาขั้นพื้นฐาน  (  หลักสูตร  2  ปีต่อระดับการศึกษา)
เปิดรับสมัคร
                        ระดับประถมศึกษา
                        ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
                        ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • นักศึกษาเทียบระดับการศึกษา  (หลักสูตร  6  เดือนต่อระดับการศึกษา)
เปิดรับสมัคร

                        ระดับประถมศึกษา
                        ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
                        ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • นักศึกษาเทียบระดับการศึกษาสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หลักสูตรจบม.6 ใน 8 เดือน)
เปิดรับสมัคร
                        นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา - มัธยมศึกษาตอนต้น
  • นักศึกษา EP  (English  Program)     หลักสูตร  2  ปีต่อระดับการศึกษา
เปิดรับสมัคร                     ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

สนใจติดต่อ/สอบถามรายละเอียดได้ที่  กศน.ตำบลลำภู  และกศน.อำเภอเมืองนราธิวาส
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป - 30 เมษายน  2556

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

โครงการนักศึกษา กศน. ใช้ชีวิตตามแนวทางพ่อ


เมื่อวันที่  ๕  มีนาคม  ๒๕๕๖
กศน.เมืองนราธิวาสได้จัดโครงการนักศึกษา กศน.  ใช้ชีวิตตามแนวทางพ่อ
ณ  ห้องประชุม  สนง.กศน.นราธิวาส
โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงแนวทางและ
การปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง







วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

เคล็ดลับการเตรียมตัวก่อนสอบ


วิธีการเตรียมตัวก่อนสอบจ้า




1. ทบทวน ท่อง ทฤษฎีบทหรือนิยาม ของบทเรียนที่จะมีการสอบให้ได้อย่างขึ้นใจ ชนิดที่ว่าแม้พิสูจน์โจทย์ข้อสอบนั้นไม่ได้ แต่ก็ยังสามารถแสดงความสัมพันธ์ของโจทย์กับทฤษฎีบทหรือนิยามนั้น ๆ ให้อาจารย์ผู้ตรวจข้อสอบอ่านได้อย่างถูกต้อง รับรองว่าต้องได้คะแนนข้อนั้นอย่างแน่นอน จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับลายมือผู้สอบจะเขียนได้สวยแค่ไหน
2. ทบทวนแบบฝึกหัดทุกข้อ ที่อาจารย์ผู้สอนชอบย้ำนักหนาในห้องว่า “ข้อสอบก็ออกในแนวนี้ละ” หรืออาจารย์บางท่านก็พูดย้ำตรง ๆ เลยว่า “ข้อนี้ออก…………นะ” ดังนั้นเวลาเรียนถ้าเจออาจารย์พูดแบบนี้ ก็อย่าลืมเอาปากกาแดงทำ * กา ไว้ที่แบบฝึกหัดข้อนั้นให้ใหญ่ ๆ เลยทีเดียว รับรองไม่พลาด ถ้าข้อไหนทวนหลายครั้งแล้วแต่ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี ให้ฝึกเขียนหลาย ๆ ครั้งจนจำขึ้นใจ
3. เตรียมอุปกรณ์เครื่องเขียนที่จะใช้ในการสอบให้พร้อม ข้อนี้สำคัญมากนะเพราะจะได้ไม่ต้องไปยืมชาวบ้านเค้า และต้องเข้านอนแต่หัวค่ำทำใจให้ผ่องใส อย่าลืมสวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิทำใจนิ่ง ๆ ว่าง ๆ ก่อนนอนสัก 5 นาที จะทำให้ใจสงบและหลับอย่างเป็นสุข พร้อมจะเผชิญอุปสรรคของวันใหม่
4. ตื่นนอนตี 5 ของวันใหม่ ล้างหน้าล้างตาให้สดใส ทบทวนเนื้อหาทั้งหมด ตลอดจนทฤษฎีบท แบบฝึกหัด (ที่ทบทวนไปเมื่อวาน) โดยอ่านแบบผ่าน ๆ สายตา ความเงียบสงบของเช้าตรู่จะช่วยให้จำได้ดี
5. ถึงหน้าห้องสอบก่อนเวลา สัก 10 นาที ตรวจเลขที่นั่งสอบของตนเองให้เรียบร้อย และไม่ต้องสนใจที่จะถกปัญหาเรื่องโจทย์กับใคร ตลอดจนไม่อ่านหนังสือหรือทบทวนอะไรในหัวสมองอีก ทำใจให้เบิกบานว่าง ๆ ไม่สนใจคนรอบข้าง
6. เมื่อ ผู้คุมสอบเรียกเข้าห้อง เข้านั่งประจำโต๊ะ วางอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องเขียนในทิศทางที่หยิบใช้ได้ง่าย นั่งตัวตรงทำใจว่าง ๆ เตือนสติตนเองอีกครั้ง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเราจะไม่พยายาม “ทุจริต” ด้วยวิธีการใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะนั้นเท่ากับเราหมดภูมิและพยายามฆ่าตัวตายชัด ๆ
7. รอกรรมการแจกข้อสอบ หรือถ้าข้อสอบวางคว่ำอยู่บนโต๊ะแล้ว ให้รอคำสั่งเปิดข้อสอบ เมื่อเวลาสัญญานเริ่มทำการสอบดังขึ้นขณะทำการสอบจากนั้น……….
7.1 เปิดข้อสอบเมื่อได้รับคำสั่ง ตรวจสอบเวลาทำการสอบรวมกี่ชั่วโมงที่หัวข้อสอบให้แน่ชัด เสร็จแล้วเขียนชื่อ/นามสกุล ชั้น/ห้อง เลขที่ประจำตัว เลขที่สอบให้เรียบร้อย ขณะเดียวกันให้ฟังกรรมการผู้คุมสอบไปด้วยว่า มีคำสั่งแก้ไขข้อสอบหรือไม่
7.2 พลิกดูข้อสอบทั้งหมดมีกี่ข้อ เป็นปรนัยกี่ข้อ อัตนัยกี่ข้อ คำนวณเวลาที่มี โดยปกติข้อสอบอัตนัย 1 ข้อ จะใช้เวลามากกว่าปรนัยประมาณ 3 เท่า ว่าควรจะใช้เวลาคิดได้ข้อละกี่นาที และเหลือเวลาไว้ตรวจสอบคำตอบทั้งหมดในตอนท้ายไว้ซัก 10 นาที
7.3 เมื่อได้เวลาเฉลี่ยต่อข้อในการทำข้อสอบแล้ว พลิกข้อสอบดูคร่าวๆ ตั้งแต่ข้อ 1 ไปถึงข้อสุดท้ายอีกครั้ง เพื่อดูว่าข้อสอบข้อใดบ้างง่ายสำหรับเรา ให้ลงมือทำเลยโดยไล่จากข้อสอบแบบปรนัยไปแบบอัตนัย
7.4 อ่านคำสั่งให้เข้าใจว่าแต่ละส่วนของข้อสอบเขาให้เราตอบอย่างไร ให้วงกลม กากะบาด หรือเติมคำตอบสั้น ๆ จับคู่ หรือแสดงวิธีทำ
7.5 เริ่มทำข้อสอบที่ยากจากข้อแรกไปตามลำดับ อย่าลืม “การวิเคราะห์โจทย์อย่างมีประสิทธิภาพ” จะช่วยให้วางแผนในการคิดหาคำตอบในแต่ละข้อได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
7.6 ข้อไหนคิดจนหมดเวลาเฉลี่ยแล้วให้ผ่านไปก่อน คิดข้ออื่นต่อไป ถ้ามีเวลาเหลือแล้วค่อยกลับมาทำใหม่
7.7 อย่าเขียนสูตร ทฤษฎีบท นิยาม หรือวิธีคิดใด ๆ ไว้บนมือขณะอยู่ในห้องสอบ เพราะจะทำให้เกิดปัญหากับกรรมการคุมสอบได้ง่ายที่สุด
8. สำหรับข้อสอบแบบอัตนัย ให้เขียนวิธีทำด้วยลายมือที่อ่านง่ายชัดเจน ใช้รูปแบบของการทำโจทย์คณิตศาสตร์ในชั้นเรียน (ไม่ควรใช้รูปแบบจากการเรียนพิเศษ ซึ่งนั่นควรเขียนเก็บไว้เพื่อความเข้าใจของตนเองเท่านั้น)
9. ใช้เวลาช่วง 10 นาทีสุดท้าย ตรวจสอบคำตอบที่เราทำมาทั้งหมด ดูว่าเราทำตกหล่น เผลอเลอ ลืมอะไรตรงไหนอีกหรือไม่
10. ส่งกระดาษคำตอบให้กรรมการผู้คุมสอบเมื่อตรวจทานเสร็จหรือได้ยินสัญญานหมดเวลาสอบ ขณะส่งกระดาษให้เหลือบดูที่หัวกระดาษคำตอบสักนิดว่าเขียน ชื่อ/นาม สกุล เลขที่สอบหรือเลขประจำตัว เรียบร้อยแล้วหรือไม่ เพราะยังแก้ไขได้ทัน
การแก้ความเปลี้ยจากการอ่านหนังสือ
เมื่ออ่านหนังสือนาน ๆ อาจเกิดความอ่อนเพลียทางกายและทางสมองรวมไปถึง
สายตาด้วย ที่มักเรียกกันว่า เกิดความเปลี้ย ผู้รู้ได้แนะวิธีการแก้ (หลังพักพอควร)เพื่อสร้างความสดชื่นขึ้นใหม่ ดังนี้
1.แก้ร่างกายเมื่อยขบ เปลี้ยล้า
ใช้การบริหารร่างกาย หรือวิธีโยคะเข้าช่วย เช่น บิดตัวไปทางซ้าย หมุนกลับ
มาทางขวาช้า ๆ เมื่อยคอให้เงยหน้าช้า ๆ ขึ้นลงหลาย ๆ ครั้ง อาจใช้ผ้าเช็ดหน้า
เช็ดทั่วใบหน้าและลำคอแรง ๆ แล้ว นวดบางจุดเบา ๆ หรือใช้น้ำลูบหน้าหากอยู่
ที่บ้านอาจใช้วิธีดัดตน เช่น นั่งคุกเข่าข้างฝาห้อง หันหน้าออกก้มหัวยันพื้น
ใช้เท้าไต่ขึ้นบนฝาผนังห้อง จนตัวตั้งตรง ปล่อยเท้าทีละข้างให้เอนไปข้างหน้า
ช้า ๆ สลับไปมาเลือดจะเข้าสมองมากขึ้น ออกซิเจน จะไปเลี้ยงเซลล์ประสาท
เพิ่มขึ้นช่วยแก้ความเปลี้ยล้าได้มาก
2.แก้ความง่วง เบื่อ ไม่อยากอ่าน
ใช้การหายใจช่วย ครั้งแรงพ่นอากาศออกจากปอดผ่านจมูกให้แรงที่สุด จนหมดสิ้น
ห่อปากให้เป็นรูเล็ก ๆ แล้วพ่นอากาศเสียที่หลงเหลืออยู่ออกไปจนหมด ค่อย ๆ สูด
อากาศดีผ่านจมูกเข้าปอดช้า ๆ อาจนับ 1 ถึง 15 ช้า ๆ ให้อากาศอัดแน่น เต็มปอด
จนสุดจะหายใจเข้าได้อีก แล้วหายใจออกช้า ๆ เหมือนข้างต้น ทำดังกล่าว 2-3 ครั้ง
จะแก้ความง่วง เบื่อการอ่านลงไปได้
(แนะ นำว่าถ้าง่วงมาก ๆ ก็อย่าฝืนนะคะ เพราะหากเรารู้สึกทึบ ๆ หรือไม่สบายในวันสอบก็ทำข้อสอบไม่ได้ดีหรอกค่ะ ให้ฟุบลงซักพัก หรือนอนพักสักชั่วโมงสองชั่วโมงก็ดีนะคะ)
3.แก้ความเปลี้ยของการใช้สายตา
เมื่อใช้สายตานานควรพักเสียบ้าง ให้มองสิ่งที่อยู่ไกลโล่ง ๆ ดูยอดไม้เขียว ๆ
มองภาพหรือทิวทัศน์ (ทัศนียภาพ) ที่ห่างออกไปมาก ๆ ถ้าเป็นเวลากลางคืน
ให้มองท้องฟ้า ดูดาวอันระยิบระยับ กล้ามเนื้อตาจะค่อย ๆ คลายตัว
ถ้าอยู่ในห้องใช้การมองผนังห้องติดรูปภาพทิวทัศน์ต่าง ๆ จะช่วยได้มาก
หรือดูทิวทัศน์จากหน้าต่าง มองให้ไกลออกไปให้เต็มที่ (เต็มตา) แล้วหลับตา
ทำจิตให้สงบสร้างสมาธิด้วยการหายใจเข้าออกช้า ๆ หายใจเข้าให้เต็ม (ปอด)
หายใจออกให้หมด จะช่วยแก้ความเปลี้ยและอาการปวดตาลงได้

1. ทบทวน ท่อง ทฤษฎีบทหรือนิยาม ของบทเรียนที่จะมีการสอบให้ได้อย่างขึ้นใจ ชนิดที่ว่าแม้พิสูจน์โจทย์ข้อสอบนั้นไม่ได้ แต่ก็ยังสามารถแสดงความสัมพันธ์ของโจทย์กับทฤษฎีบทหรือนิยามนั้น ๆ ให้อาจารย์ผู้ตรวจข้อสอบอ่านได้อย่างถูกต้อง รับรองว่าต้องได้คะแนนข้อนั้นอย่างแน่นอน จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับลายมือผู้สอบจะเขียนได้สวยแค่ไหน
2. ทบทวนแบบฝึกหัดทุกข้อ ที่อาจารย์ผู้สอนชอบย้ำนักหนาในห้องว่า “ข้อสอบก็ออกในแนวนี้ละ” หรืออาจารย์บางท่านก็พูดย้ำตรง ๆ เลยว่า “ข้อนี้ออก…………นะ” ดังนั้นเวลาเรียนถ้าเจออาจารย์พูดแบบนี้ ก็อย่าลืมเอาปากกาแดงทำ * กา ไว้ที่แบบฝึกหัดข้อนั้นให้ใหญ่ ๆ เลยทีเดียว รับรองไม่พลาด ถ้าข้อไหนทวนหลายครั้งแล้วแต่ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี ให้ฝึกเขียนหลาย ๆ ครั้งจนจำขึ้นใจ
3. เตรียมอุปกรณ์เครื่องเขียนที่จะใช้ในการสอบให้พร้อม ข้อนี้สำคัญมากนะเพราะจะได้ไม่ต้องไปยืมชาวบ้านเค้า และต้องเข้านอนแต่หัวค่ำทำใจให้ผ่องใส อย่าลืมสวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิทำใจนิ่ง ๆ ว่าง ๆ ก่อนนอนสัก 5 นาที จะทำให้ใจสงบและหลับอย่างเป็นสุข พร้อมจะเผชิญอุปสรรคของวันใหม่
4. ตื่นนอนตี 5 ของวันใหม่ ล้างหน้าล้างตาให้สดใส ทบทวนเนื้อหาทั้งหมด ตลอดจนทฤษฎีบท แบบฝึกหัด (ที่ทบทวนไปเมื่อวาน) โดยอ่านแบบผ่าน ๆ สายตา ความเงียบสงบของเช้าตรู่จะช่วยให้จำได้ดี
5. ถึงหน้าห้องสอบก่อนเวลา สัก 10 นาที ตรวจเลขที่นั่งสอบของตนเองให้เรียบร้อย และไม่ต้องสนใจที่จะถกปัญหาเรื่องโจทย์กับใคร ตลอดจนไม่อ่านหนังสือหรือทบทวนอะไรในหัวสมองอีก ทำใจให้เบิกบานว่าง ๆ ไม่สนใจคนรอบข้าง
6. เมื่อ ผู้คุมสอบเรียกเข้าห้อง เข้านั่งประจำโต๊ะ วางอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องเขียนในทิศทางที่หยิบใช้ได้ง่าย นั่งตัวตรงทำใจว่าง ๆ เตือนสติตนเองอีกครั้ง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเราจะไม่พยายาม “ทุจริต” ด้วยวิธีการใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะนั้นเท่ากับเราหมดภูมิและพยายามฆ่าตัวตายชัด ๆ
7. รอกรรมการแจกข้อสอบ หรือถ้าข้อสอบวางคว่ำอยู่บนโต๊ะแล้ว ให้รอคำสั่งเปิดข้อสอบ เมื่อเวลาสัญญานเริ่มทำการสอบดังขึ้นขณะทำการสอบจากนั้น……….
7.1 เปิดข้อสอบเมื่อได้รับคำสั่ง ตรวจสอบเวลาทำการสอบรวมกี่ชั่วโมงที่หัวข้อสอบให้แน่ชัด เสร็จแล้วเขียนชื่อ/นามสกุล ชั้น/ห้อง เลขที่ประจำตัว เลขที่สอบให้เรียบร้อย ขณะเดียวกันให้ฟังกรรมการผู้คุมสอบไปด้วยว่า มีคำสั่งแก้ไขข้อสอบหรือไม่
7.2 พลิกดูข้อสอบทั้งหมดมีกี่ข้อ เป็นปรนัยกี่ข้อ อัตนัยกี่ข้อ คำนวณเวลาที่มี โดยปกติข้อสอบอัตนัย 1 ข้อ จะใช้เวลามากกว่าปรนัยประมาณ 3 เท่า ว่าควรจะใช้เวลาคิดได้ข้อละกี่นาที และเหลือเวลาไว้ตรวจสอบคำตอบทั้งหมดในตอนท้ายไว้ซัก 10 นาที
7.3 เมื่อได้เวลาเฉลี่ยต่อข้อในการทำข้อสอบแล้ว พลิกข้อสอบดูคร่าวๆ ตั้งแต่ข้อ 1 ไปถึงข้อสุดท้ายอีกครั้ง เพื่อดูว่าข้อสอบข้อใดบ้างง่ายสำหรับเรา ให้ลงมือทำเลยโดยไล่จากข้อสอบแบบปรนัยไปแบบอัตนัย
7.4 อ่านคำสั่งให้เข้าใจว่าแต่ละส่วนของข้อสอบเขาให้เราตอบอย่างไร ให้วงกลม กากะบาด หรือเติมคำตอบสั้น ๆ จับคู่ หรือแสดงวิธีทำ
7.5 เริ่มทำข้อสอบที่ยากจากข้อแรกไปตามลำดับ อย่าลืม “การวิเคราะห์โจทย์อย่างมีประสิทธิภาพ” จะช่วยให้วางแผนในการคิดหาคำตอบในแต่ละข้อได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
7.6 ข้อไหนคิดจนหมดเวลาเฉลี่ยแล้วให้ผ่านไปก่อน คิดข้ออื่นต่อไป ถ้ามีเวลาเหลือแล้วค่อยกลับมาทำใหม่
7.7 อย่าเขียนสูตร ทฤษฎีบท นิยาม หรือวิธีคิดใด ๆ ไว้บนมือขณะอยู่ในห้องสอบ เพราะจะทำให้เกิดปัญหากับกรรมการคุมสอบได้ง่ายที่สุด
8. สำหรับข้อสอบแบบอัตนัย ให้เขียนวิธีทำด้วยลายมือที่อ่านง่ายชัดเจน ใช้รูปแบบของการทำโจทย์คณิตศาสตร์ในชั้นเรียน (ไม่ควรใช้รูปแบบจากการเรียนพิเศษ ซึ่งนั่นควรเขียนเก็บไว้เพื่อความเข้าใจของตนเองเท่านั้น)
9. ใช้เวลาช่วง 10 นาทีสุดท้าย ตรวจสอบคำตอบที่เราทำมาทั้งหมด ดูว่าเราทำตกหล่น เผลอเลอ ลืมอะไรตรงไหนอีกหรือไม่
10. ส่งกระดาษคำตอบให้กรรมการผู้คุมสอบเมื่อตรวจทานเสร็จหรือได้ยินสัญญานหมดเวลาสอบ ขณะส่งกระดาษให้เหลือบดูที่หัวกระดาษคำตอบสักนิดว่าเขียน ชื่อ/นาม สกุล เลขที่สอบหรือเลขประจำตัว เรียบร้อยแล้วหรือไม่ เพราะยังแก้ไขได้ทัน
การแก้ความเปลี้ยจากการอ่านหนังสือ
เมื่ออ่านหนังสือนาน ๆ อาจเกิดความอ่อนเพลียทางกายและทางสมองรวมไปถึง
สายตาด้วย ที่มักเรียกกันว่า เกิดความเปลี้ย ผู้รู้ได้แนะวิธีการแก้ (หลังพักพอควร)เพื่อสร้างความสดชื่นขึ้นใหม่ ดังนี้
1.แก้ร่างกายเมื่อยขบ เปลี้ยล้า
ใช้การบริหารร่างกาย หรือวิธีโยคะเข้าช่วย เช่น บิดตัวไปทางซ้าย หมุนกลับ
มาทางขวาช้า ๆ เมื่อยคอให้เงยหน้าช้า ๆ ขึ้นลงหลาย ๆ ครั้ง อาจใช้ผ้าเช็ดหน้า
เช็ดทั่วใบหน้าและลำคอแรง ๆ แล้ว นวดบางจุดเบา ๆ หรือใช้น้ำลูบหน้าหากอยู่
ที่บ้านอาจใช้วิธีดัดตน เช่น นั่งคุกเข่าข้างฝาห้อง หันหน้าออกก้มหัวยันพื้น
ใช้เท้าไต่ขึ้นบนฝาผนังห้อง จนตัวตั้งตรง ปล่อยเท้าทีละข้างให้เอนไปข้างหน้า
ช้า ๆ สลับไปมาเลือดจะเข้าสมองมากขึ้น ออกซิเจน จะไปเลี้ยงเซลล์ประสาท
เพิ่มขึ้นช่วยแก้ความเปลี้ยล้าได้มาก
2.แก้ความง่วง เบื่อ ไม่อยากอ่าน
ใช้การหายใจช่วย ครั้งแรงพ่นอากาศออกจากปอดผ่านจมูกให้แรงที่สุด จนหมดสิ้น
ห่อปากให้เป็นรูเล็ก ๆ แล้วพ่นอากาศเสียที่หลงเหลืออยู่ออกไปจนหมด ค่อย ๆ สูด
อากาศดีผ่านจมูกเข้าปอดช้า ๆ อาจนับ 1 ถึง 15 ช้า ๆ ให้อากาศอัดแน่น เต็มปอด
จนสุดจะหายใจเข้าได้อีก แล้วหายใจออกช้า ๆ เหมือนข้างต้น ทำดังกล่าว 2-3 ครั้ง
จะแก้ความง่วง เบื่อการอ่านลงไปได้
(แนะ นำว่าถ้าง่วงมาก ๆ ก็อย่าฝืนนะคะ เพราะหากเรารู้สึกทึบ ๆ หรือไม่สบายในวันสอบก็ทำข้อสอบไม่ได้ดีหรอกค่ะ ให้ฟุบลงซักพัก หรือนอนพักสักชั่วโมงสองชั่วโมงก็ดีนะคะ)
3.แก้ความเปลี้ยของการใช้สายตา
เมื่อใช้สายตานานควรพักเสียบ้าง ให้มองสิ่งที่อยู่ไกลโล่ง ๆ ดูยอดไม้เขียว ๆ
มองภาพหรือทิวทัศน์ (ทัศนียภาพ) ที่ห่างออกไปมาก ๆ ถ้าเป็นเวลากลางคืน
ให้มองท้องฟ้า ดูดาวอันระยิบระยับ กล้ามเนื้อตาจะค่อย ๆ คลายตัว
ถ้าอยู่ในห้องใช้การมองผนังห้องติดรูปภาพทิวทัศน์ต่าง ๆ จะช่วยได้มาก
หรือดูทิวทัศน์จากหน้าต่าง มองให้ไกลออกไปให้เต็มที่ (เต็มตา) แล้วหลับตา
ทำจิตให้สงบสร้างสมาธิด้วยการหายใจเข้าออกช้า ๆ หายใจเข้าให้เต็ม (ปอด)
หายใจออกให้หมด จะช่วยแก้ความเปลี้ยและอาการปวดตาลงได้

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

สอบปลายภาคเรียนที่ 2/2555

ประกาศ...เรื่องสอบปลายภาคเรียนที่  2/2555
วันที่  9 - 10  มีนาคม  2556  และวันที่  16 - 17  มีนาคม  2556

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การป้องกันโรค มือ เท้า ปาก

โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก
วันที่  ๓๑  กรกฎาคม  ๒๕๕๕
ณ กศน.ตำบลลำภู  อำเภอเมือง  จังหวัดนราธิวาส


วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

คำขวัญวันเด็ก

ขอให้เด็ก ๆ ท่องเสียงดัง ๆ และจำให้แม่น ๆ นะจ๊ะ^0^ 

"สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย 
ใส่ใจเทคโนโลยี"


  • สำหรับคำขวัญวันเด็ก ประจำปี 2555 นั้น นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้องการจะสื่อสารให้เด็ก ๆ รู้จักรักสามัคคี ต้องใฝ่หาความรู้ ร่วมทั้งหาความสมดุลระหว่างความเป็นไทยและเทคโนโลยีด้วย พร้อมกับบอกให้คนไทยทุกคนทราบว่า อยากเห็นรอยยิ้มของคนไทย
  •  กิจกรรมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในวันเด็กแห่งชาติ  ล้วนมีจุดประสงค์ไปในทางเดียวกัน คือ เพื่อให้เด็กได้ตระหนักถึงคุณค่าบทบาท และความสำคัญของตนเอง โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น ในโรงเรียน หมู่บ้าน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนจัดขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าทุกถิ่นจะมีขนมมากมาย มีคำเชื้อเชิญเพราะ ๆ มีคำอวยพรให้เด็กๆ เป็นวันที่เด็ก ๆ มีสิทธิพิเศษ ถนนทุกสาย เปิดพื้นที่ให้เด็กๆ หรือร่วมกันทำกิจกรรม ในแต่ละชุมชนเพื่อเด็กๆ จัดบรรยากาศเพื่อเด็ก ๆ เพลงเด็ก ๆ ของขวัญเพื่อเด็ก ๆ ฯลฯ



วันเด็ก



วันเด็ก