วิธีการเตรียมตัวก่อนสอบจ้า
2. ทบทวนแบบฝึกหัดทุกข้อ ที่อาจารย์ผู้สอนชอบย้ำนักหนาในห้องว่า “ข้อสอบก็ออกในแนวนี้ละ” หรืออาจารย์บางท่านก็พูดย้ำตรง ๆ เลยว่า “ข้อนี้ออก…………นะ” ดังนั้นเวลาเรียนถ้าเจออาจารย์พูดแบบนี้ ก็อย่าลืมเอาปากกาแดงทำ * กา ไว้ที่แบบฝึกหัดข้อนั้นให้ใหญ่ ๆ เลยทีเดียว รับรองไม่พลาด ถ้าข้อไหนทวนหลายครั้งแล้วแต่ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี ให้ฝึกเขียนหลาย ๆ ครั้งจนจำขึ้นใจ
3. เตรียมอุปกรณ์เครื่องเขียนที่จะใช้ในการสอบให้พร้อม ข้อนี้สำคัญมากนะเพราะจะได้ไม่ต้องไปยืมชาวบ้านเค้า และต้องเข้านอนแต่หัวค่ำทำใจให้ผ่องใส อย่าลืมสวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิทำใจนิ่ง ๆ ว่าง ๆ ก่อนนอนสัก 5 นาที จะทำให้ใจสงบและหลับอย่างเป็นสุข พร้อมจะเผชิญอุปสรรคของวันใหม่
4. ตื่นนอนตี 5 ของวันใหม่ ล้างหน้าล้างตาให้สดใส ทบทวนเนื้อหาทั้งหมด ตลอดจนทฤษฎีบท แบบฝึกหัด (ที่ทบทวนไปเมื่อวาน) โดยอ่านแบบผ่าน ๆ สายตา ความเงียบสงบของเช้าตรู่จะช่วยให้จำได้ดี
5. ถึงหน้าห้องสอบก่อนเวลา สัก 10 นาที ตรวจเลขที่นั่งสอบของตนเองให้เรียบร้อย และไม่ต้องสนใจที่จะถกปัญหาเรื่องโจทย์กับใคร ตลอดจนไม่อ่านหนังสือหรือทบทวนอะไรในหัวสมองอีก ทำใจให้เบิกบานว่าง ๆ ไม่สนใจคนรอบข้าง
6. เมื่อ ผู้คุมสอบเรียกเข้าห้อง เข้านั่งประจำโต๊ะ วางอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องเขียนในทิศทางที่หยิบใช้ได้ง่าย นั่งตัวตรงทำใจว่าง ๆ เตือนสติตนเองอีกครั้ง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเราจะไม่พยายาม “ทุจริต” ด้วยวิธีการใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะนั้นเท่ากับเราหมดภูมิและพยายามฆ่าตัวตายชัด ๆ
7. รอกรรมการแจกข้อสอบ หรือถ้าข้อสอบวางคว่ำอยู่บนโต๊ะแล้ว ให้รอคำสั่งเปิดข้อสอบ เมื่อเวลาสัญญานเริ่มทำการสอบดังขึ้นขณะทำการสอบจากนั้น……….
7.1 เปิดข้อสอบเมื่อได้รับคำสั่ง ตรวจสอบเวลาทำการสอบรวมกี่ชั่วโมงที่หัวข้อสอบให้แน่ชัด เสร็จแล้วเขียนชื่อ/นามสกุล ชั้น/ห้อง เลขที่ประจำตัว เลขที่สอบให้เรียบร้อย ขณะเดียวกันให้ฟังกรรมการผู้คุมสอบไปด้วยว่า มีคำสั่งแก้ไขข้อสอบหรือไม่
7.2 พลิกดูข้อสอบทั้งหมดมีกี่ข้อ เป็นปรนัยกี่ข้อ อัตนัยกี่ข้อ คำนวณเวลาที่มี โดยปกติข้อสอบอัตนัย 1 ข้อ จะใช้เวลามากกว่าปรนัยประมาณ 3 เท่า ว่าควรจะใช้เวลาคิดได้ข้อละกี่นาที และเหลือเวลาไว้ตรวจสอบคำตอบทั้งหมดในตอนท้ายไว้ซัก 10 นาที
7.3 เมื่อได้เวลาเฉลี่ยต่อข้อในการทำข้อสอบแล้ว พลิกข้อสอบดูคร่าวๆ ตั้งแต่ข้อ 1 ไปถึงข้อสุดท้ายอีกครั้ง เพื่อดูว่าข้อสอบข้อใดบ้างง่ายสำหรับเรา ให้ลงมือทำเลยโดยไล่จากข้อสอบแบบปรนัยไปแบบอัตนัย
7.4 อ่านคำสั่งให้เข้าใจว่าแต่ละส่วนของข้อสอบเขาให้เราตอบอย่างไร ให้วงกลม กากะบาด หรือเติมคำตอบสั้น ๆ จับคู่ หรือแสดงวิธีทำ
7.5 เริ่มทำข้อสอบที่ยากจากข้อแรกไปตามลำดับ อย่าลืม “การวิเคราะห์โจทย์อย่างมีประสิทธิภาพ” จะช่วยให้วางแผนในการคิดหาคำตอบในแต่ละข้อได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
7.6 ข้อไหนคิดจนหมดเวลาเฉลี่ยแล้วให้ผ่านไปก่อน คิดข้ออื่นต่อไป ถ้ามีเวลาเหลือแล้วค่อยกลับมาทำใหม่
7.7 อย่าเขียนสูตร ทฤษฎีบท นิยาม หรือวิธีคิดใด ๆ ไว้บนมือขณะอยู่ในห้องสอบ เพราะจะทำให้เกิดปัญหากับกรรมการคุมสอบได้ง่ายที่สุด
8. สำหรับข้อสอบแบบอัตนัย ให้เขียนวิธีทำด้วยลายมือที่อ่านง่ายชัดเจน ใช้รูปแบบของการทำโจทย์คณิตศาสตร์ในชั้นเรียน (ไม่ควรใช้รูปแบบจากการเรียนพิเศษ ซึ่งนั่นควรเขียนเก็บไว้เพื่อความเข้าใจของตนเองเท่านั้น)
9. ใช้เวลาช่วง 10 นาทีสุดท้าย ตรวจสอบคำตอบที่เราทำมาทั้งหมด ดูว่าเราทำตกหล่น เผลอเลอ ลืมอะไรตรงไหนอีกหรือไม่
10. ส่งกระดาษคำตอบให้กรรมการผู้คุมสอบเมื่อตรวจทานเสร็จหรือได้ยินสัญญานหมดเวลาสอบ ขณะส่งกระดาษให้เหลือบดูที่หัวกระดาษคำตอบสักนิดว่าเขียน ชื่อ/นาม สกุล เลขที่สอบหรือเลขประจำตัว เรียบร้อยแล้วหรือไม่ เพราะยังแก้ไขได้ทัน
การแก้ความเปลี้ยจากการอ่านหนังสือ
เมื่ออ่านหนังสือนาน ๆ อาจเกิดความอ่อนเพลียทางกายและทางสมองรวมไปถึง
สายตาด้วย ที่มักเรียกกันว่า เกิดความเปลี้ย ผู้รู้ได้แนะวิธีการแก้ (หลังพักพอควร)เพื่อสร้างความสดชื่นขึ้นใหม่ ดังนี้
1.แก้ร่างกายเมื่อยขบ เปลี้ยล้า
ใช้การบริหารร่างกาย หรือวิธีโยคะเข้าช่วย เช่น บิดตัวไปทางซ้าย หมุนกลับ
มาทางขวาช้า ๆ เมื่อยคอให้เงยหน้าช้า ๆ ขึ้นลงหลาย ๆ ครั้ง อาจใช้ผ้าเช็ดหน้า
เช็ดทั่วใบหน้าและลำคอแรง ๆ แล้ว นวดบางจุดเบา ๆ หรือใช้น้ำลูบหน้าหากอยู่
ที่บ้านอาจใช้วิธีดัดตน เช่น นั่งคุกเข่าข้างฝาห้อง หันหน้าออกก้มหัวยันพื้น
ใช้เท้าไต่ขึ้นบนฝาผนังห้อง จนตัวตั้งตรง ปล่อยเท้าทีละข้างให้เอนไปข้างหน้า
ช้า ๆ สลับไปมาเลือดจะเข้าสมองมากขึ้น ออกซิเจน จะไปเลี้ยงเซลล์ประสาท
เพิ่มขึ้นช่วยแก้ความเปลี้ยล้าได้มาก
2.แก้ความง่วง เบื่อ ไม่อยากอ่าน
ใช้การหายใจช่วย ครั้งแรงพ่นอากาศออกจากปอดผ่านจมูกให้แรงที่สุด จนหมดสิ้น
ห่อปากให้เป็นรูเล็ก ๆ แล้วพ่นอากาศเสียที่หลงเหลืออยู่ออกไปจนหมด ค่อย ๆ สูด
อากาศดีผ่านจมูกเข้าปอดช้า ๆ อาจนับ 1 ถึง 15 ช้า ๆ ให้อากาศอัดแน่น เต็มปอด
จนสุดจะหายใจเข้าได้อีก แล้วหายใจออกช้า ๆ เหมือนข้างต้น ทำดังกล่าว 2-3 ครั้ง
จะแก้ความง่วง เบื่อการอ่านลงไปได้
(แนะ นำว่าถ้าง่วงมาก ๆ ก็อย่าฝืนนะคะ เพราะหากเรารู้สึกทึบ ๆ หรือไม่สบายในวันสอบก็ทำข้อสอบไม่ได้ดีหรอกค่ะ ให้ฟุบลงซักพัก หรือนอนพักสักชั่วโมงสองชั่วโมงก็ดีนะคะ)
3.แก้ความเปลี้ยของการใช้สายตา
เมื่อใช้สายตานานควรพักเสียบ้าง ให้มองสิ่งที่อยู่ไกลโล่ง ๆ ดูยอดไม้เขียว ๆ
มองภาพหรือทิวทัศน์ (ทัศนียภาพ) ที่ห่างออกไปมาก ๆ ถ้าเป็นเวลากลางคืน
ให้มองท้องฟ้า ดูดาวอันระยิบระยับ กล้ามเนื้อตาจะค่อย ๆ คลายตัว
ถ้าอยู่ในห้องใช้การมองผนังห้องติดรูปภาพทิวทัศน์ต่าง ๆ จะช่วยได้มาก
หรือดูทิวทัศน์จากหน้าต่าง มองให้ไกลออกไปให้เต็มที่ (เต็มตา) แล้วหลับตา
ทำจิตให้สงบสร้างสมาธิด้วยการหายใจเข้าออกช้า ๆ หายใจเข้าให้เต็ม (ปอด)
หายใจออกให้หมด จะช่วยแก้ความเปลี้ยและอาการปวดตาลงได้
1. ทบทวน ท่อง ทฤษฎีบทหรือนิยาม ของบทเรียนที่จะมีการสอบให้ได้อย่างขึ้นใจ ชนิดที่ว่าแม้พิสูจน์โจทย์ข้อสอบนั้นไม่ได้ แต่ก็ยังสามารถแสดงความสัมพันธ์ของโจทย์กับทฤษฎีบทหรือนิยามนั้น ๆ ให้อาจารย์ผู้ตรวจข้อสอบอ่านได้อย่างถูกต้อง รับรองว่าต้องได้คะแนนข้อนั้นอย่างแน่นอน จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับลายมือผู้สอบจะเขียนได้สวยแค่ไหน
2. ทบทวนแบบฝึกหัดทุกข้อ ที่อาจารย์ผู้สอนชอบย้ำนักหนาในห้องว่า “ข้อสอบก็ออกในแนวนี้ละ” หรืออาจารย์บางท่านก็พูดย้ำตรง ๆ เลยว่า “ข้อนี้ออก…………นะ” ดังนั้นเวลาเรียนถ้าเจออาจารย์พูดแบบนี้ ก็อย่าลืมเอาปากกาแดงทำ * กา ไว้ที่แบบฝึกหัดข้อนั้นให้ใหญ่ ๆ เลยทีเดียว รับรองไม่พลาด ถ้าข้อไหนทวนหลายครั้งแล้วแต่ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี ให้ฝึกเขียนหลาย ๆ ครั้งจนจำขึ้นใจ
3. เตรียมอุปกรณ์เครื่องเขียนที่จะใช้ในการสอบให้พร้อม ข้อนี้สำคัญมากนะเพราะจะได้ไม่ต้องไปยืมชาวบ้านเค้า และต้องเข้านอนแต่หัวค่ำทำใจให้ผ่องใส อย่าลืมสวดมนต์ไหว้พระและนั่งสมาธิทำใจนิ่ง ๆ ว่าง ๆ ก่อนนอนสัก 5 นาที จะทำให้ใจสงบและหลับอย่างเป็นสุข พร้อมจะเผชิญอุปสรรคของวันใหม่
4. ตื่นนอนตี 5 ของวันใหม่ ล้างหน้าล้างตาให้สดใส ทบทวนเนื้อหาทั้งหมด ตลอดจนทฤษฎีบท แบบฝึกหัด (ที่ทบทวนไปเมื่อวาน) โดยอ่านแบบผ่าน ๆ สายตา ความเงียบสงบของเช้าตรู่จะช่วยให้จำได้ดี
5. ถึงหน้าห้องสอบก่อนเวลา สัก 10 นาที ตรวจเลขที่นั่งสอบของตนเองให้เรียบร้อย และไม่ต้องสนใจที่จะถกปัญหาเรื่องโจทย์กับใคร ตลอดจนไม่อ่านหนังสือหรือทบทวนอะไรในหัวสมองอีก ทำใจให้เบิกบานว่าง ๆ ไม่สนใจคนรอบข้าง
6. เมื่อ ผู้คุมสอบเรียกเข้าห้อง เข้านั่งประจำโต๊ะ วางอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องเขียนในทิศทางที่หยิบใช้ได้ง่าย นั่งตัวตรงทำใจว่าง ๆ เตือนสติตนเองอีกครั้ง ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเราจะไม่พยายาม “ทุจริต” ด้วยวิธีการใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะนั้นเท่ากับเราหมดภูมิและพยายามฆ่าตัวตายชัด ๆ
7. รอกรรมการแจกข้อสอบ หรือถ้าข้อสอบวางคว่ำอยู่บนโต๊ะแล้ว ให้รอคำสั่งเปิดข้อสอบ เมื่อเวลาสัญญานเริ่มทำการสอบดังขึ้นขณะทำการสอบจากนั้น……….
7.1 เปิดข้อสอบเมื่อได้รับคำสั่ง ตรวจสอบเวลาทำการสอบรวมกี่ชั่วโมงที่หัวข้อสอบให้แน่ชัด เสร็จแล้วเขียนชื่อ/นามสกุล ชั้น/ห้อง เลขที่ประจำตัว เลขที่สอบให้เรียบร้อย ขณะเดียวกันให้ฟังกรรมการผู้คุมสอบไปด้วยว่า มีคำสั่งแก้ไขข้อสอบหรือไม่
7.2 พลิกดูข้อสอบทั้งหมดมีกี่ข้อ เป็นปรนัยกี่ข้อ อัตนัยกี่ข้อ คำนวณเวลาที่มี โดยปกติข้อสอบอัตนัย 1 ข้อ จะใช้เวลามากกว่าปรนัยประมาณ 3 เท่า ว่าควรจะใช้เวลาคิดได้ข้อละกี่นาที และเหลือเวลาไว้ตรวจสอบคำตอบทั้งหมดในตอนท้ายไว้ซัก 10 นาที
7.3 เมื่อได้เวลาเฉลี่ยต่อข้อในการทำข้อสอบแล้ว พลิกข้อสอบดูคร่าวๆ ตั้งแต่ข้อ 1 ไปถึงข้อสุดท้ายอีกครั้ง เพื่อดูว่าข้อสอบข้อใดบ้างง่ายสำหรับเรา ให้ลงมือทำเลยโดยไล่จากข้อสอบแบบปรนัยไปแบบอัตนัย
7.4 อ่านคำสั่งให้เข้าใจว่าแต่ละส่วนของข้อสอบเขาให้เราตอบอย่างไร ให้วงกลม กากะบาด หรือเติมคำตอบสั้น ๆ จับคู่ หรือแสดงวิธีทำ
7.5 เริ่มทำข้อสอบที่ยากจากข้อแรกไปตามลำดับ อย่าลืม “การวิเคราะห์โจทย์อย่างมีประสิทธิภาพ” จะช่วยให้วางแผนในการคิดหาคำตอบในแต่ละข้อได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
7.6 ข้อไหนคิดจนหมดเวลาเฉลี่ยแล้วให้ผ่านไปก่อน คิดข้ออื่นต่อไป ถ้ามีเวลาเหลือแล้วค่อยกลับมาทำใหม่
7.7 อย่าเขียนสูตร ทฤษฎีบท นิยาม หรือวิธีคิดใด ๆ ไว้บนมือขณะอยู่ในห้องสอบ เพราะจะทำให้เกิดปัญหากับกรรมการคุมสอบได้ง่ายที่สุด
8. สำหรับข้อสอบแบบอัตนัย ให้เขียนวิธีทำด้วยลายมือที่อ่านง่ายชัดเจน ใช้รูปแบบของการทำโจทย์คณิตศาสตร์ในชั้นเรียน (ไม่ควรใช้รูปแบบจากการเรียนพิเศษ ซึ่งนั่นควรเขียนเก็บไว้เพื่อความเข้าใจของตนเองเท่านั้น)
9. ใช้เวลาช่วง 10 นาทีสุดท้าย ตรวจสอบคำตอบที่เราทำมาทั้งหมด ดูว่าเราทำตกหล่น เผลอเลอ ลืมอะไรตรงไหนอีกหรือไม่
10. ส่งกระดาษคำตอบให้กรรมการผู้คุมสอบเมื่อตรวจทานเสร็จหรือได้ยินสัญญานหมดเวลาสอบ ขณะส่งกระดาษให้เหลือบดูที่หัวกระดาษคำตอบสักนิดว่าเขียน ชื่อ/นาม สกุล เลขที่สอบหรือเลขประจำตัว เรียบร้อยแล้วหรือไม่ เพราะยังแก้ไขได้ทัน
การแก้ความเปลี้ยจากการอ่านหนังสือ
เมื่ออ่านหนังสือนาน ๆ อาจเกิดความอ่อนเพลียทางกายและทางสมองรวมไปถึง
สายตาด้วย ที่มักเรียกกันว่า เกิดความเปลี้ย ผู้รู้ได้แนะวิธีการแก้ (หลังพักพอควร)เพื่อสร้างความสดชื่นขึ้นใหม่ ดังนี้
1.แก้ร่างกายเมื่อยขบ เปลี้ยล้า
ใช้การบริหารร่างกาย หรือวิธีโยคะเข้าช่วย เช่น บิดตัวไปทางซ้าย หมุนกลับ
มาทางขวาช้า ๆ เมื่อยคอให้เงยหน้าช้า ๆ ขึ้นลงหลาย ๆ ครั้ง อาจใช้ผ้าเช็ดหน้า
เช็ดทั่วใบหน้าและลำคอแรง ๆ แล้ว นวดบางจุดเบา ๆ หรือใช้น้ำลูบหน้าหากอยู่
ที่บ้านอาจใช้วิธีดัดตน เช่น นั่งคุกเข่าข้างฝาห้อง หันหน้าออกก้มหัวยันพื้น
ใช้เท้าไต่ขึ้นบนฝาผนังห้อง จนตัวตั้งตรง ปล่อยเท้าทีละข้างให้เอนไปข้างหน้า
ช้า ๆ สลับไปมาเลือดจะเข้าสมองมากขึ้น ออกซิเจน จะไปเลี้ยงเซลล์ประสาท
เพิ่มขึ้นช่วยแก้ความเปลี้ยล้าได้มาก
2.แก้ความง่วง เบื่อ ไม่อยากอ่าน
ใช้การหายใจช่วย ครั้งแรงพ่นอากาศออกจากปอดผ่านจมูกให้แรงที่สุด จนหมดสิ้น
ห่อปากให้เป็นรูเล็ก ๆ แล้วพ่นอากาศเสียที่หลงเหลืออยู่ออกไปจนหมด ค่อย ๆ สูด
อากาศดีผ่านจมูกเข้าปอดช้า ๆ อาจนับ 1 ถึง 15 ช้า ๆ ให้อากาศอัดแน่น เต็มปอด
จนสุดจะหายใจเข้าได้อีก แล้วหายใจออกช้า ๆ เหมือนข้างต้น ทำดังกล่าว 2-3 ครั้ง
จะแก้ความง่วง เบื่อการอ่านลงไปได้
(แนะ นำว่าถ้าง่วงมาก ๆ ก็อย่าฝืนนะคะ เพราะหากเรารู้สึกทึบ ๆ หรือไม่สบายในวันสอบก็ทำข้อสอบไม่ได้ดีหรอกค่ะ ให้ฟุบลงซักพัก หรือนอนพักสักชั่วโมงสองชั่วโมงก็ดีนะคะ)
3.แก้ความเปลี้ยของการใช้สายตา
เมื่อใช้สายตานานควรพักเสียบ้าง ให้มองสิ่งที่อยู่ไกลโล่ง ๆ ดูยอดไม้เขียว ๆ
มองภาพหรือทิวทัศน์ (ทัศนียภาพ) ที่ห่างออกไปมาก ๆ ถ้าเป็นเวลากลางคืน
ให้มองท้องฟ้า ดูดาวอันระยิบระยับ กล้ามเนื้อตาจะค่อย ๆ คลายตัว
ถ้าอยู่ในห้องใช้การมองผนังห้องติดรูปภาพทิวทัศน์ต่าง ๆ จะช่วยได้มาก
หรือดูทิวทัศน์จากหน้าต่าง มองให้ไกลออกไปให้เต็มที่ (เต็มตา) แล้วหลับตา
ทำจิตให้สงบสร้างสมาธิด้วยการหายใจเข้าออกช้า ๆ หายใจเข้าให้เต็ม (ปอด)
หายใจออกให้หมด จะช่วยแก้ความเปลี้ยและอาการปวดตาลงได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น